Last updated: 21 เม.ย 2563 | 4342 จำนวนผู้เข้าชม |
อิตาลีมีประชากรสูงอายุจำนวนมาก
อัตราการเสียชีวิตจากโควิด-19 ที่พุ่งสูงในอิตาลี เป็นผลจากข้อเท็จจริงที่ว่าอิตาลีเป็นประเทศที่มีประชากรสูงอายุมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากญี่ปุ่น โดยมีสัดส่วนผู้สูงอายุถึง 22.8% จากจำนวนประชากรทั้งหมดกว่า 60 ล้านคน โดยผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ในอิตาลี ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ
ซิลวิโอ เปาเน (Silvio Paone) นักวิจัยโรคไวรัส มหาวิทยาลัยลาปีเอนซา (La Sapienza) คิดเห็นเช่นเดียวกัน โดยระบุว่าปัจจัยอีกหนึ่งประการคือสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุของอิตาลีที่ขยายใหญ่ขึ้น
รายงานจากสำนักงานสถิติแห่งชาติอิตาลี เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2019 ระบุว่าประชากรทั้งหมดของอิตาลีอยู่ที่ราว 60.39 ล้านคน ณ เดือนมกราคม 2019 ในจำนวนนี้มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป สูงกว่า 13.8 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 22.8 ของประชากรทั้งหมด โดยข้อมูลเมื่อปี 2018 ของธนาคารโลก (World Bank) ระบุว่าสัดส่วนดังกล่าวถือว่ามากเป็นอันดับ 2 ของโลก ตามหลังเพียงญี่ปุ่น
อันเจโล บอร์เรลลี (Angelo Borrelli) หัวหน้าสำนักงานคุ้มครองพลเรือนของอิตาลี ย้ำในงานแถลงข่าวหลายครั้งว่าผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ โดยรายงานเมื่อวันที่ 9 มี.ค. เผยว่าราวร้อยละ 31 ของผู้เสียชีวิต อายุ 70-79 ปี, ราวร้อยละ 44 อายุ 80-89 ปี และอีกราวร้อยละ 14 อายุมากกว่า 90 ปี
รายงานอีกฉบับหนึ่งที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 13 มี.ค. โดยสถาบันชั้นสูงด้านสุขภาพแห่งอิตาลี (ISS) ระบุสถิติการเสียชีวิตจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ โดยอายุเฉลี่ยของการเสียชีวิตในอิตาลีอยู่ที่ 80 ปี และหากถ้าพิจารณาตามอายุ อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยชาวอิตาลีที่ติดเชื้อนั้น ไม่ได้สูงกว่าอัตราเดียวกันของประเทศอื่น
นอกจากนี้รายงานจากสถาบันฯ ยังชี้ว่าร้อยละ 46-47 ของผู้เสียชีวิตยังมีโรคอื่นๆ ร่วมด้วย 2-3 โรคหรือมากกว่านั้น หลายรายเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคเบาหวานมาก่อนแล้ว
ซิลวีโอ บรูซาแฟร์โร (Silvio Brusaferro) ผู้อำนวยการสถาบันฯ กล่าวว่างานวิจัยยืนยันแล้วว่าผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีโรคอื่นๆ ร่วม มีความเสี่ยงต่อการติดโรคโควิด-19 มากกว่าคนอื่น และควรให้ความสำคัญกับการป้องกันโรค
3 ธ.ค. 2563
3 ธ.ค. 2563
26 ก.ค. 2561
21 เม.ย 2563